กิจกรรม 25 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน
สืบค้นข้อมูล

การกล่าวถึงขนาดของจักรวาล นั้นคือ กำลังกล่าวถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด และถ้าถาม
ว่าจักรวาลมีขนาดใหญ่ แค่ไหนกัน คงตอบได้ว่าลึกเข้าไปถึง 14 พันล้านปีแสง
(ข้อมูลที่มนุษย์สำรวจได้ด้วยเครื่องมือขณะนี้)

คำว่า 14 พันล้านปีแสง คงนึกยากอยู่เหมือนกันว่า จะอภิมหาไพศาลเพียงใด
ดังนั้นจึงขยายคำตอบให้ชัดขึ้น ว่ามีสิ่งใดบ้าง บรรจุอยู่ในพื้นที่ ขนาด 14 พันล้าน
ปีแสง เพื่อจะมองเห็นขนาดความยิ่งใหญ่ สัดส่วนต่างๆในจักรวาลได้ชัดเจนขึ้น

อวกาศ มีความลึกและไกล ในวันนี้เชื่อว่ามีระยะทาง 14 พันล้านปีแสง เดิมที่เดียว
ในอดีตจักรวาล ปรากฎขึ้นหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ (Big bang) เริ่มจากการ
ก่อตัวของดาว ดวงแรกเพียงดวงเดียว หลังจากนั้นจึงมี การวิวัฒน์อย่างสืบเนื่อง
ของจักรวาล มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และขยายตัวต่อเนื่องทุกวินาที
ระยะทางที่เราสามารถมองเห็น จากการสำรวจมองออกไปยังท้องฟ้า กาแล็คซี่ ระยะไกล 7 พันล้านปีแสง ภาพที่เห็นกำลังแสดง
กาแล็คซี่ อายุเท่ากับจักรวาลเกิดมา ครึ่งทาง คือ 6.7 พันล้านปี (จักรวาลปรากฎ
หลังจากการระเบิดของ Big Bang 13.7 พันล้านปี)

ถ้ามองออกไปยัง กาแล็คซี่ ระยะไกลไปอีก 12 พันล้านปีแสง ภาพที่เห็นกำลัง
แสดงกาแล็คซี่ อายุเท่ากับจักรวาลเกิดมา 1.7 พันล้านปี

ระยะที่ไกลไปกว่า 14 พันล้านปีแสง ไม่สามารถที่จะเห็นอะไรได้เลย ไม่มีคลื่น
คลื่นแสงใดๆ เพราะเป็นเวลาก่อนจักรวาลเกิด

ดังนั้นการมองออกไปข้างนอกในอวกาศ เท่ากับเห็นเหตุการณ์อดีตเพราะภาพที่
เห็นนั้น เดินทางด้วยแสงมาสู่สายตาเรา ยิ่งไกลมากยิ่งเป็นเหตุการณ์อดีตมากขึ้น
ไปเรื่อยๆตามลำดับ

คำว่า ปีแสง (Light year) คือ การวัดระยะแสง (หรือการแผ่รังสีใดๆ) เดินทางใน
สูญญากาศเท่ากับ 1 ปี (ของเขต Tropical zone) โดยมีความเร็ว 300,000 กม.
เพราะฉะนั้นแสงเดินทาง 1 ปีเท่ากับ 9,500,000,000,000 กม.

ดังนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก หากกล่าวว่า
Andromeda Galaxy มีระยะทางห่างจาก
โลก 23,000,000,000,000,000,000 กม. จึงต้องใช้บอกระยะทางแบบ ปีแสง
เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าใจและการเขียน ว่า Andromeda Galaxy มีระยะทางห่าง
จากโลกเท่ากับ 2.3 ล้านปีแสง

สำหรับ Astronomical Unit (AU) เป็นหน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ คิดจากค่า
เฉลี่ยระยะทางระหว่าง โลกและดวงอาทิตย์ เท่ากับ 1 AU. (150 ล้านกม. หรือ
93 ล้านไมล์) ซึ่งใช้บอกระยะทางในระบบสุริยะ เช่น ดาวพูลโต
(Pluto) มีระยะ
ทางห่างจากดวงอาทิตย์ 40 AU.

เช่น ดวงอาิทิตย์มีระยะทางห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร แสงใช้เวลาเดินทาง
มาสู่โลก 8.3 นาที เท่ากับภาพดวงอาทิตย์ มิใช่เวลาปัจจุบันเท่ากับโลก แต่เป็น
เหตุการณ์อดีต ที่ผ่านมาแล้ว 8.3 นาที

ในทำนองเดียวกัน Sirius ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเรา 8 ปีแสง ระยะทางดังกล่าวเท่ากับ
แสงเดินทาง 8 ปีเมื่อแสง จึงมองเห็นดาว Sirius แต่เป็นภาพของอดีต 8 ปีที่แล้ว

อีกกรณี เช่น บริเวณ Orion nebula มีกลุ่มดาวเพิ่งเกิดใหม่ เมื่อ 1,500 ปี ที่ผ่าน
มาเวลาบนโลกขณะนั้น คือยุคอาณาจักร Roman หากเราอยู่ในยุคนั้นไม่สามารถ
เห็นกลุ่มดาวเกิดใหม่เหล่านั้นได้เลย ทั้งๆดาวนั้นปรากฏขึ้นแล้วเพราะการเดินของ
แสงต้องใช้เวลา

และถ้าระยะ 1,000,000 ปีแสง ของบางกาแล็คซี่
(Galaxy) ก็กำลังมองอดีตที่
ผ่านมาเท่ากับระยะ การเดินทางของแสงคือ อดีต 1,000,000 ปี มาแล้ว

ไม่ว่าภาพถ่ายใดๆ ที่เราเห็นทั้งหมดของจักรวาล เป็นสิ่งปรากฏขึ้นในอดีตแต่จะ
นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับระยะ ของตำแหน่งกลุ่มวัตถุนั้นๆ

สืบค้นข้อมูล
หินภูเขาไฟ (Volcanic rock)หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) เกิดขึ้นเมื่อหินร้อนเหลวหรือแมกมาถูกดันและปะทุออกมานอกเปลือกโลก ซึ่งอาจจะออกมาตามรอยแตก หรือระเบิดออกมาเป็นภูเขาไฟกลายเป็นลาวา ลาวาจะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว และแข็งตัวเป็นหินซึ่งมีผลึกขนาดเล็กถึงเล็กมาก ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นรูปของผลึกด้วยตาเปล่า ลาวาที่ถูกขับมาจากส่วนลึกของเปลือกโลกจะประกอบด้วยแร่ที่มีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมสูง เมื่อแข็งตัวก็จะได้หินภูเขาไฟสีดำ ลาวาที่ถูกขับออกมาจากเปลือกโลกในระดับความลึกไม่มากนัก จะกลายเป็นหินภูเขาไฟสีอ่อน การปะทุขึ้นมาของแมกมาเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ได้แก่
  • การปะทุแบบไม่รุนแรง
  • การปะทุแบบรุนแรง
ตอบข้อ.3  ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F
สืบค้นข้อมูล

ในปี ค.ศ. 1965 J. Tuzo Wilson นักธรณีวิทยาชาวแคนาดาได้นำทฤษฎี continental drift และ seafloor spreading มาเป็นพื้นฐานเพื่อใช้ในการอธิบายทฤษฎีใหม่ของเขาที่ชื่อว่า plate tectonic ซึ่งเชื่อว่าพื้นผิวด้านนอกของโลกจะมีลักษณะเป็นแผ่นมีทั้งหมด 12 แผ่น แต่แผ่นที่ใหญ่และเป็นหลัก ๆ แสดงไว้ดังภาพที่ 2.8 โดยแต่ละแผ่นมีความหนาประมาณ 70-100 กิโลเมตร ลอยอยู่ในชั้น Asthenosphere และ plate แต่ละชิ้นจะประกอบด้วยส่วนของทวีปและมหาสมุทรจึงแสดงให้เห็นว่าขอบเขตของชิ้นส่วนเหล่านี้ไม่ใช่ขอบเขตระหว่างทวีปและมหาสมุทร และอาจอยู่เหลื่อมล้ำกัน การเคลื่อนที่ของ plate ต่าง ๆ เป็นผลจากการเคลื่อนที่ในลักษณะที่เรียกว่า convection current ของของเหลวในชั้น Asthenosphere ทั้งนี้เนื่องจากภายในของโลกมีเพิ่มอุณหภูมิอย่างมหาศาลซึ่งเกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสีภายในโลก สารที่ร้อนและเบากว่าบริเวณข้างเคียงจะเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่อเคลื่อนมาถึงชั้น lithosphere ก็จะทำให้เกิดแรงดันให้แยกตัวออกไปด้านข้างดันให้ plate เคลื่อนที่ออกไปเมื่อของเหลวนั้นเย็นตัวก็จะทำให้เกิดพื้นมหาสมุทรใหม่ ในขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งของ plate สารหลอมเหลวก็จะดึงส่วนที่เป็นพื้นผิวโลกเดิมให้จมตัวลงจัดเป็นลงรอบของการเคลื่อนที่ของของเหลวภายในโลก (ภาพที่ 2.9) ถึงแม้ว่ากลไกนี้จะเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันแต่ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใด convection current ที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรซึ่งเป็นขอบด้านหนึ่งของ plate
 
ภาพที่2.8 แผ่นเปลือกโลกที่สำคัญทั้ง 12 แผ่น
ที่มา: Garrison (2007)
ขอบของ plate ที่เป็นแนวที่เกิดเปลือกมหาสมุทรใหม่จะเรียกว่าเป็น divergent plate boundary ตัวอย่างเช่น Mid-Atlantic Ridge ในมหาสมุทรแอตแลนติก ในขณะเดียวกันส่วนของเปลือกโลกที่ถูกทำลายเราจะเรียกส่วนนี้ว่า convergent plate boundary ซึ่งจะเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอย่างรุนแรงเนื่องจากเป็นแนวที่ plate ซ้อนทับกัน ตัวอย่างเช่นทวีปอเมริกาใต้ซึ่งอยู่บน South American Plate ซึ่งมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกจะอยู่ติดกันกับส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่บน Nazca Plate ซึ่งมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกดังนั้นจึงมีการดันกันของ plate โดยทวีปอเมริกาใต้ซึ่งลอยตัวอยู่ในชั้น lithosphere ซึ่งเป็นเปลือกโลกทวีปที่ค่อนข้างหนาและเบากว่าจะเกยเหนือ Nazca Plate โดยเปลือกโลกมหาสมุทรที่หนักกว่าของ Nazca Plate จะจมตัวลงเป็น subduction zone ซึ่งมีลักษณะเป็นหุบเหวลึก (trench) ขนานไปกับชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
ภาพที่ 2.9 ลักษณะการไหลเวียนของ convection current
ที่มา: Garrison (2007)


สืบค้นข้อมูล
หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตี
ตอบข้อ.4  ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99

สืบค้นข้อมูล

ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้รวมและลบล้างทฤษฎีเก่าที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของทวีปที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลที่ถูกคิดขึ้นระหว่างคริสตทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
ส่วนนอกสุดของโครงสร้างของโลกนั้นประกอบไปด้วยชั้นสองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นดินแข็ง (lithosphere) ที่มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้นดินอ่อน (aethenosphere) ซึ่งแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลได้คล้ายของเหลวซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเป็นสิ่งที่เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นดินแข็งจะเลื่อนตัวอยู่บนชั้นดินอ่อน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบ่งได้เป็นสามขอบเขตด้วยกันคือ ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ โดยปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวขึ้นของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
ตอบข้อ.2  ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81
สืบค้นข้อมูล
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
<><>
<>
<><>


     โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งส่วน ที่เป็นบรรยากาศห่อหุ้มโลกและส่วนที่ประกอบอยู่ภายในของโลก อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ และรอบตัวเอง รวมไปถึงการที่โลกยังร้อนอยู่ภายในมีทฤษฎีหลายทฤษฎี ที่อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
ทฤษฎีการเคลื่อนที่
ทฤษฎีวงจรการพาความร้อน (Convection current theory)
     กล่าวไว้ว่าการหมุนเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก มีลักษณะเช่นเดียวกับการเดือดของน้ำในแก้ว กล่าวคือโลกส่งผ่านความร้อนจากแก่นโลกขึ้นมาสู่ชั้นแมนเทิล ซึ่งมีลักษณะเป็นของไหลที่มีสถานะกึ่งแข็งกึ่งเหลว และผลักดันให้สารในชั้นนี้หมุนเวียนจากส่วนล่างขึ้นไปสู่ส่วนบนส่งผลให้เปลือกโลกซึ่งเป็นของแข็งปิดทับอยู่บนสุดเกิดการแตกเป็นแผ่น (Plate) และเคลื่อนที่ในลักษณะเข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกัน
ตอบข้อ.4  ที่มา:http://www.dmr.go.th/main.php?filename=earth_move


สืบค้นข้อมูล

ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
                  ชั้นเนื้อโลกเป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร ใต้ตำแหน่ง Moho 
ลงไป ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวทั้งที่เป็นคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่า
ชั้นเนื้อโลกประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่มีความหนาแน่นสูง และการที่คลื่นทุติยภูมิสามารถเดินทางในชั้นเนื้อโลกได้ย่อมแสดงว่า
ชั้นเนื้อโลกเป็นของแข็ง ส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกมีการเปลี่ยนแปลงบ้างทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ แต่อย่างไรก็ดีส่วนประกอบ
ของชั้นเนื้อโลกยังมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวมากกว่าชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน 
1. ชั้นเนื้อโลกส่วนบน (upper mantle) ประกอบด้วย dunite, echogite และ peridotite 
2. ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง (lower mantle) ประกอบด้วยสารจำพวก oxides และ silicate
ตอบข้อ.3   ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/social04/15/5.html

3 ความคิดเห็น:

  1. น.ส. ดวงใจ กระแจะจันทร์ ม.5/1 เลขที่ 29
    น.ส. ธิดา พันธ์เรือง ม.5/1 เลขที่ 33
    ตรวจงานได้ค่ะ
    ประเมิน คะแนนเต็มคะแนน80 ให้ 72คะแนน
    http://t2535133.blogspot.com/p/13-17-2553.html

    ตอบลบ
  2. จากคะแนนเต็ม 80 คะแนน-ให้ 75 คะแนน
    น.ส.อารีรัตน์ กล่อมดี ม.5/1 เลขที่ 42
    น.ส.นพวรรณ อ่อนละออ ม.5/1 เลขที่ 34

    ตอบลบ
  3. รวม 2 คน เต็ม 130 คะแนน ได้ 147
    หาร 2 เต็ม 80 คะแนน ได้ 73.5

    ตอบลบ