กิจกรรม10พฤศจิกายน2553


ส่งงาน  
   
คลื่นความไหวสะเทือนเป็นผลจากกระบวนการเคลื่อนที่และแยกตัวของแผ่นธรณีภาค/แผ่นเปลือกโลก ตำแหน่งที่กำเนิดคลื่น ความไหวสะเทือนใต้ผิวโลก เรียกว่าศูนย์การเกิดแผ่นดินไหว (focus) โดยที่ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสเรียกว่าอีพิเซ็นเตอร์ (epicenter) คลื่นความไหวสะเทือนที่ออกมาจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมี 2 ประเภท คือ

           - คลื่นปฐมภูมิ (primary waves: P-waves)
           - คลื่นทุติยภูมิ (secondary waves: S-waves)

          การกำหนดตำแหน่งของแผ่นดินไหวและการตรวจวัดทำโดยใช้เครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่ เรียกว่า ไซสโมมิเตอร์ (seismometer) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกลงและแปรผลเพื่อให้ทราบถึงลักษณะของวัตถุที่คลื่นเคลื่อนผ่านมา
 ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=38529
สืบค้นข้อมูล
ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีป
          7 ทวีป : แอฟริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้








6 ทวีป : แอฟริกา แอนตาร์กติกา โอเชียเนีย ยูเรเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
ปัจจุบันผิวโลกมีแผ่นเปลือกโลกหลักอยู่ 7 แผ่น และแผ่นเล็ก ๆ อีกมาก การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดการแยกตัวออกจากกัน และการรวมเข้าด้วยกันของแต่ละแผ่น ในอดีตจึงมีแผ่นเปลือกที่ไม่พบในปัจจุบัน


สืบค้นข้อมูล

แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากแรงเครียดภายในโลก  ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิที่ต่างกันอย่างมากระหว่างเปลือกโลก  และหินหลอมภายในโลกเมื่อแรงนี้กระทำต่อหินแข็งภายในโลกจะทำให้หินแตกออกเป็นแนว  เรียกว่า  แนวรอยเลื่อน(Fault)  เมื่อรอยเลื่อนนี้ขยับตัวก็จะปล่อยพลังงานออกมาอยู่ในรูปของการสั่นไหว  ซึ่งก็คือแผ่นดินไหวนั่นเอง  โดยปรกติรอยเลื่อนจะอยู่ลึกลงไปใต้ผิวโลกไม่ปรากฎให้เห็นที่ผิวดิน  แต่มีเหมือนกันที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน  เช่น  รอยเลื่อนชานแอนเดรสที่แคลิฟอร์เนีย
บริเวณรอยเลื่อนเคลื่อนตัวนี้  จะเป็นที่รวมของศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากมาย  ในประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่คาดว่ายังมีการเคลื่อนตัวอยู่ในภาคตะวันตกและภาคเหนือของประเทศ  เช่น  รอยเลื่อนเมย - อุทัยธานี  รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์  รอยเลื่อนแม่ทา  และ รอยเลื่อนเหล่านี้จำเป็นต้องมีการศึกษาลักษณะการเคลื่อนตัว  ตลอดจนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวซ้ำอีก  และขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดที่ควรจะเกิดในแต่ละรอยเลื่อน  เพื่อการวางแผนป้องกันภัยอันอาจจะเกิดขึ้น ในบริเวณที่มีอัตราเสื่ยงต่อแผ่นดินไหวสูง
ตอบ  ข้อ1. ที่มาhttp://www.lamptech.ac.th/engineer/activity/quake/index.html
สืบค้นข้อมูล
ความรุนแรงของภูเขาไฟระเบิดมันคือ "ภัยพิบัติหรือมหันตภัยร้ายแรงอันทรงพลังโหดร้าย" ที่สามารถทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ตรงหน้าได้เพียงชั่วพริบตาให้พังราบเป็นหน้ากลอง ไม่เคยมีความปรานี หรือส่งสัญญาณเตือนบอกเหตุให้เราได้รู้ล่วงหน้า และยังเป็นภัยคุกคามที่มนุษย์ไม่สามารถหยุดยั้งมันได้               "เนชั่นแนล จิโอกราฟฟิก ชาแนล" รายการสารคดีระดับโลก ได้จัดเสวนา "ภูเขาไฟ...ภัยพิบัติที่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด" ที่ศูนย์การค้าเพนนินซูล่า พลาซ่า ไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้เชิญนักวิชาการระดับปรมาจารย์ด้านธรณีวิทยาของไทย "ดร.สมิทธ ธรรมสโรช" ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และนักธรณีวิทยาที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภูเขาไฟ "นายวรวุฒิ ตันติวนิช" ที่ปรึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมแนะวิธีรับมือและหลบหลีกอย่างไรให้ปลอดภัย รวมถึงคำทำนาย "นอสตราดามุส" ว่าจะเกิดภัยพิบัติโลกครั้งใหญ่ในปีค.ศ.2012 หรือ พ.ศ.2555             ดร.สมิทธกล่าวว่า "ภูเขาไฟ" คือภัยพิบัติที่ไกลจากตัวเรา ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีภูเขาไฟที่สามารถปะทุได้ แต่ประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รอบๆ ที่มีภูเขาไฟพร้อมปะทุขึ้นมา และสร้างความเสียหายมายังประเทศไทยได้เช่นกัน ถ้าเรากางแผนที่ประเทศไทยดูจะพบว่า ประเทศไทยเรามีภูเขาไฟอยู่หลายลูก ล้วนดับสนิทแล้วทั้งสิ้นมีจำนวน 8 ลูก อาจจะหลงเหลือพิษสงอยู่บ้างก็แค่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรงเท่าใดนัก              อาทิ จ.บุรีรัมย์ ได้แก่ ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟหินหลุบ ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟกระโดง ภูเขาไฟไบรบัด ภูเขาไฟคอก จ.ลำปาง ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด ภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู            ปรมาจารย์ด้านธรณีวิทยากล่าวต่อว่า ถ้าดูเหตุการณ์หลังจากเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 9.3 ริกเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 สถิติการเกิดแผ่นดินไหวตามรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศไทยก็เพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้น อาทิ ภาคเหนือเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิน 4 ริกเตอร์ ติดต่อกันบ่อยขึ้น จากที่ผ่านมาไม่ค่อยมีเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เป็นห่วงมาก             ดร.สมิทธกล่าวเตือนว่า นอกจากแผ่นดินไหวแล้วภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิยังเป็นอีกผลกระทบที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟในประเทศใกล้เคียง ในปัจจุบันยังพบอีกว่าทุกวินาทีบนผิวโลกมีการเกิดภูเขาไฟระเบิด แม้แต่ในขณะนี้ก็ยังมีภูเขาไฟเกิดขึ้นอยู่ใต้ท้องทะเลตลอดเวลาและอยู่บริเวณรอบประเทศไทย แต่เราไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ ซึ่งเป็นการปล่อยพลังงานพื้นโลก              จากการตรวจสอบผิวโลกพบว่ามีจุดที่อาจจะเกิดภูเขาไฟอยู่ไม่ต่ำกว่า 100 จุด แต่ที่อยู่รอบประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 50 จุด คือ บริเวณรอบมหาสมุทรแปซิฟิกในประเทศฟิลิปปินส์ 45 จุด และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดบริเวณเกาะนิโคบาร์ ซึ่งมีภูเขาไฟที่เรียกว่าไพโรคลาสติก (Pyro Clatic) ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างออกจากประเทศไทยประมาณ 200 ไมล์ทะเล และเคยเกิดภูเขาไฟระเบิดเมื่อปี 1997 ที่ผ่านมา              หากภูเขาไฟไพโรคลาสติกเกิดระเบิดอีกครั้งจะส่งผลกระทบให้กับประเทศไทย ซึ่งอาจจะเกิดแผ่นดินไหว และจะเกิดเป็นคลื่นทะเลที่สูงมาก จนกระทั่งเป็นคลื่นสึนามิอีกครั้ง พร้อมทั้งจะส่งผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศในจังหวัดภาคใต้ด้วย               ภูเขาไฟที่อาจจะเกิดระเบิดในอนาคตและทำให้เกิดคลื่นสึนามิกระทบมาถึงประเทศไทย ที่น่าเป็นห่วงได้แก่ การระเบิดของภูเขาไฟในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะภูเขาไฟฟินาตูโบ ซึ่งเคยเกิดการระเบิดขึ้นหลายครั้งในอดีต และมีวัฏจักรในการระเบิดประมาณทุก 30-50 ปี             ดร.สมิทธกล่าวว่า ธรรมชาตินี้เราไปหยุดเขาไม่ได้ แต่เราจะหยุดโดยการอยู่กับเขาได้ คือเรียนรู้กับภัยธรรมชาติ เช่น มีสึนามิต้องวิ่งขึ้นบนเขาหรือตึกที่มีความสูงมากกว่า 3 ชั้น หากแผ่นดินไหวและอยู่บนตึกสูงควรหาที่หลบตามช่องไว้ก่อน เมื่อสงบก็ค่อยลงออกจากตึกด้วยบันไดและต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งเพื่อไม่ให้สิ่งของตกใส่             ด้านนายวรวุฒิเล่าสมทบว่า ภูเขาไฟที่น่าเป็นห่วงที่สุดตอนนี้ก็คือ ภูเขาไฟ Barren Island ที่อินเดียที่อยู่ในทะเลอันดามัน เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทุมากที่สุด และถ้าเกิดขึ้นไทยก็จะได้รับผลกระทบด้วยอย่างแน่นอน              บริเวณที่มีภูเขาไฟและแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นประจำนี้ คือบริเวณรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ยุโรป หรือทางใต้ของจีน ในฝั่งตะวันออกทวีปแอฟริกา เพราะว่าเปลือกโลกเราไม่ได้เชื่อมต่อเป็นอันเดียว แต่เป็นแผ่นทวีปที่แยก หากมีการเคลื่อนที่บริเวณเปลือกโลกยุบตัวส่วนใหญ่จะมีแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดเกิดขึ้น ไทยเรามีรอยเลื่อนอยู่และมีพลังและอาจมีการเคลื่อนที่ขยับตัว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ในบางครั้ง จนทำให้เกิดความรู้สึกได้ในกรุงเทพฯ              ส่วนคำทำนายของนอสตราดามุสในปีค.ศ.2012 ว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่และทำลายมนุษยชาตินั้น ผมเห็นว่าคงเป็นไปไม่ได้ แต่อาจจะมีผลกระทบกับพวกอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร ภูเขาไฟภัยพิบัติที่ไม่ไกลตัวเรา!!  คม-ชัด-ลึก    28 ส.ค. 2550   
ตอบ  ข้อ2.  ที่มา.http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=3063&filename=index
สืบค้นข้อมูล

ตอบ  ข้อ4   ที่มา.http://www.wt.ac.th/~somyos/earth501.html
ดาวฤกษ์(Stars)
ดาวฤกษ์เป็นกลุ่มก้อนก๊าซที่อยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง แหล่งพลังงานของดาวฤกษ์อยู่ในใจกลางของดวง
ดาวอันเกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ทำให้ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเองดาวฤกษ์เป็นดาว ที่อยู่ไกลจากโลกมาก แสงจากดาวฤกษ์ต้องใช้เวลาเดินทางอันยาวนานเป็นปี กว่าจะมาถึงโลกได้ ดาวฤกษ์ที่เราเห็นอยู่ในคืนวันนี้อาจเป็นดวงดาวแห่งอดีตกาล เพราะดาวฤกษ์นั้นอาจแตกดับไปแล้วก็ได้ เหลือเพียงแสงที่วิ่งมายังโลกเท่านั้น แสงจากดาวฤกษ์ที่วิ่งลงมาต้องผ่านชั้นบรรยากาศของโลกทำให้แสง ที่ผ่านเข้ามาเกิดการหักเหและดาวฤกษ์อยู่ไกลมาก ลำแสงของดาวฤกษ์จึงเป็นลำแสงที่เล็กมากเมื่อเทียบ กับลำแสงจากดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กว่า จึงทำให้คนบนโลกมองเห็นดาวฤกษ์มีแสงกระพริบระยิบระยับ
สืบค้นข้อมูล
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี[4]
ตอบข้อ.4  ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C
สืบค้นข้อมูล

สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง[1] โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ตอบข้อ. 4  ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
สืบค้นข้อมูล
สถานีอวกาศนานาชาติ
ในปี ค.ศ. 2005  มนุษย์เราก็จะมีสิ่ง ก่อสร้างขนาดมหึมาในอวกาศ ใหญ่จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จากโลก สิ่งนั้นก็คือ
สถานีอวกาศ (Space Station) อันเป็นผลงาน ร่วมกันของนานาชาติถึง 16 ชาติ ความสำเร็จของงานชิ้นนี้ จะนำประโยชน์ มาสู่มวลมนุษย์อย่างมหาศาล
โครงการสถานีอวกาศนานาชาติ ISS = International Space Station
เกิดขึ้นจากความร่วมมือกัน โดยมีอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น รัสเซีย และ
กลุ่มประเทศในยุโรปเกือบทั้งหมด ร่วมในโครงการ ฯ
แล้วต่างก็อาศัยข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์กัน
ในเดือนธันวาคม 1998  สถานีอวกาศระหว่างชาติแห่งนี้ ได้เริ่มลงมือประกอบ 2 ชิ้นส่วนแรก คือ ...
1. ส่วนอาศัย (Living Zone) มนุษย์อวกาศแต่ละคนจะมีเคบินส่วนตัว ซึ่งประกอบด้วย
เก้าอี้ ถุงนอน และช่องกระจกกลม มีส่วนสุขภัณฑ์รวม ซึ่งมีโถอุจจาระ อ่างล้างหน้า
และฝักบัวอาบน้ำ แล้วก็มีส่วนครัว ซึ่งมีโต๊ะกินข้าว อุปกรณ์ทำครัว และที่เก็บขยะ
2. ส่วนปฏิบัติการ (Operation Zone) เป็นที่ตั้งของอุปกรณ์ควบคุมสถานีอวกาศ
ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ทางวิทยาศาตร์ มนุษย์อวกาศจะมานั่งปฎิบัติการที่นี่
ทุกห้องในแกนกลางนี้จะปูพรม ผนังทาสีสวยงาม เพดานขาว ติดไฟแสงนวล
แม้ว่าที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีส่วนล่างหรือบน เพราะทุกอย่างไร้น้ำหนัก
แต่ก็ต้อง จัดวางไว้ ให้ผู้อาศัยมีความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านบนพื้นโลก
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตั้งกับแกนกลาง อาทิ แผงโซล่าเซลล์
เครื่องตรวจรังสีและคลื่นแม่เหล็กจากดวงดาวต่าง ๆ ห้องกรีนเฮาส์สำหรับปลูกพืช

ซึ่งจะถูกลำเรียงขึ้นไปประกอบเรื่อย ๆ จนเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 2005
 ความกว้าง (รวมปีก) 108.5 เมตร ความยาว 88.4 เมตร
- ใช้ค่าก่อสร้างประมาณ สามหมื่นหกพันล้านดอลล่าร์
- ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 52 เครื่อง
- ใช้เจ้าหน้าที่ประจำ 7 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทุก 3-6 เดือน
  • เราอาจผลิตยาใหม่ ๆ ที่ไม่อาจปรุงได้บนพื้นโลก
    อันเนื่องจากโมเลกุลของตัวยา ไม่สามารถบดละเอียดได้ด้วย
    แรงโน้มถ่วงโลก
  • การรักษาโรคกระดูกและเบาหวานจะได้ผลดี
    เพราะในอวกาศ เราจะปราศจากน้ำหนักตัว
  • การทดลองรักษาโรคมะเร็ง โดยลดความเสี่ยงได้จากเนื้อเยื่อ
    ที่สร้างขึ้นในอวกาศ รวมทั้งการทดลองรักษา
    และค้นคว้าวัคซีน สำหรับโรคเอดส์ด้วย
  • การผลิตฟิล์มบริสุทธิ์สูง สำหรับใช้กับอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์
    จะได้คุณภาพดีกว่าผลิตบนพื้นโลกถึง 100 เท่า
  • สามารถทำนายภูมิอากาศได้แม่นยำ ช่วยนการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ
    และยังความหวังสำหรับมนุษย์ที่จะรอดพ้น จากภัยพิบัติ โดยเฉพาะโรคภัยทั้งหลาย
    ไม่ว่า เอดส์ มะเร็ง ความดัน หรือเบาหวาน ...
ตอบข้อ.3   ที่มา:http://www.everykid.com/worldnews2/spacestation/index.html
สืบค้นข้อมูล

หลังจากที่มนุษย์สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก โดยการส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นไปสู่วงโคจรได้สำเร็จช่วงปลายปี พศ.2500 (คศ.1957) ด้วยดาวเทียมดวงแรกของสหภาพโซเวียต "สปุคนิค 1" หลังจากนั้นก็มีการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นไปโคจรรอบโลก  และส่งมนุษย์คนแรกไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ ในเดือนกรกฏาคม พศ.2512 (คศ.1969) ด้วยยานอะพอลโล 11 ทำให้มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติอีกอย่างให้ได้โดยการขึ้นไปใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงให้นานที่สุด  จึงต้องมีระบบช่วยชีวิตที่สมบูรณ์ ทั้งน้ำ อาหาร และ อากาศ  รวมทั้งระบบสันทนาการ เพื่อลดความเคลียดและปัญหาเรื่องสุขภาพ  ทำให้ยานอวกาศขนาดเล็กๆแบบเดิมไม่สามารถทำได้
     มนุษย์จึงมีแนวความคิดที่จะสร้างในรูปแบบของห้องหรือสถานี ที่มีระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ และโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลก จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการสร้างสถานีอวกาศขึ้นมา 
     ประโยชน์ที่ได้จากสถานีอวกาศก็คือ 
     1)  ศึกษาความเป็นไปได้ของการดำรงชีวิตในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ที่มีผลกระทบโดยตรงกับมนุษย์ เช่น สภาพจิตใจ  และ สภาพร่างกาย
     2)  ศึกษาการทดลองต่างๆทางวิทยาศาสตร์ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งการทดลองบางอย่างไม่สามารถทำได้บนพื้นโลก
     3)  ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด และการดำรงชีพของสัตว์เหล่านั้น เมื่ออยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง เช่น ศึกษาการชักใยของแมงมุม เป็นต้น
     4)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์  เพราะในอวกาศไม่มีชั้นบรรยากาศรบกวนหรือขวางกั้น
     5)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา และ อุตุนิยมวิทยา  ควบคู่ไปกับระบบดาวเทียม
     6)  ใช้สำหรับประโยชน์ทางการทหาร
     7)  นอกจากนี้การสร้างสถานีอวกาศ ยังเป็นแนวทางที่ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์หรือวิทยาการใหม่ๆขึ้นมาสำหรับการพัฒนาสถานีอวกาศรุ่นต่อๆไป
       จากอดีตถึงปัจจุบัน
       สถานีอวกาศแห่งแรกของโลกคือสถานีอวกาศซัลยูตของรัสเซีย  ตามมาด้วย
Skylab  และสถานีอวกาศเมียร์  ซึ่งทั้งสามสถานีนั้นได้ยุติโครงการและตกลงในมหาสมุทรหมดแล้ว ยังคงเหลือเพียงสถานีเดียว คือสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งเป็นสถานีอวกาศที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา ปัจจุบันยังโคจรอยู่รอบโลก แต่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์  ซึ่งมีการก่อสร้างเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ

หลังจากที่มนุษย์สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก โดยการส่งยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นไปสู่วงโคจรได้สำเร็จช่วงปลายปี พศ.2500 (คศ.1957) ด้วยดาวเทียมดวงแรกของสหภาพโซเวียต "สปุคนิค 1" หลังจากนั้นก็มีการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นไปโคจรรอบโลก  และส่งมนุษย์คนแรกไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ ในเดือนกรกฏาคม พศ.2512 (คศ.1969) ด้วยยานอะพอลโล 11 ทำให้มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติอีกอย่างให้ได้โดยการขึ้นไปใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศในสภาพไร้แรงโน้มถ่วงให้นานที่สุด  จึงต้องมีระบบช่วยชีวิตที่สมบูรณ์ ทั้งน้ำ อาหาร และ อากาศ  รวมทั้งระบบสันทนาการ เพื่อลดความเคลียดและปัญหาเรื่องสุขภาพ  ทำให้ยานอวกาศขนาดเล็กๆแบบเดิมไม่สามารถทำได้
     มนุษย์จึงมีแนวความคิดที่จะสร้างในรูปแบบของห้องหรือสถานี ที่มีระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ และโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลก จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการสร้างสถานีอวกาศขึ้นมา 
     ประโยชน์ที่ได้จากสถานีอวกาศก็คือ 
     1)  ศึกษาความเป็นไปได้ของการดำรงชีวิตในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ที่มีผลกระทบโดยตรงกับมนุษย์ เช่น สภาพจิตใจ  และ สภาพร่างกาย
     2)  ศึกษาการทดลองต่างๆทางวิทยาศาสตร์ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งการทดลองบางอย่างไม่สามารถทำได้บนพื้นโลก
     3)  ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิด และการดำรงชีพของสัตว์เหล่านั้น เมื่ออยู่ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง เช่น ศึกษาการชักใยของแมงมุม เป็นต้น
     4)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์  เพราะในอวกาศไม่มีชั้นบรรยากาศรบกวนหรือขวางกั้น
     5)  ใช้สำหรับการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา และ อุตุนิยมวิทยา  ควบคู่ไปกับระบบดาวเทียม
     6)  ใช้สำหรับประโยชน์ทางการทหาร
     7)  นอกจากนี้การสร้างสถานีอวกาศ ยังเป็นแนวทางที่ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์หรือวิทยาการใหม่ๆขึ้นมาสำหรับการพัฒนาสถานีอวกาศรุ่นต่อๆไป

ตอบ 3.   ที่มา:/       http://www.darasart.com/spacestation/default.html   

3 ความคิดเห็น:

  1. น.ส. ดวงใจ กระแจะจันทร์ ม.5/1 เลขที่ 29
    น.ส. ธิดา พันธ์เรือง ม.5/1 เลขที่ 33
    ตรวจงานได้ค่ะ
    ประเมิน คะแนนเต็มคะแนน 80ให้ 75คะแนน
    http://t2535133.blogspot.com/p/13-17-2553.html

    ตอบลบ
  2. จากคะแนนเต็ม 80 คะแนน-ให้ 75 คะแนน
    น.ส.อารีรัตน์ กล่อมดี ม.5/1 เลขที่ 42
    น.ส.นพวรรณ อ่อนละออ ม.5/1 เลขที่ 34

    ตอบลบ
  3. รวม 2 คน เต็ม 130 คะแนน ได้ 150
    หาร 2 เต็ม 80 คะแนน ได้ 75

    ตอบลบ